รวบรูป "แม่คะนิ้ง" หรือ "เหมยขาบ" มาให้ชมกันครับ ^ ^

แม่คะนิ้ง หรือเหมยขาบนั้น เป็นน้ำแข็งที่เกาะบนยอดไม้ยอดหญ้า เกิดจากน้ำที่ระเหยจากผิวดินหรือจากใบไม้เอง แข็งตัวเกาะกับกิ่งไม้หรือใบหญ้าต่างๆ (สังเกตว่าไม่ค่อยเกิดกับต้นสูงๆเท่าไหร่ ซึ่งลักษณะการแข็งตัวของน้ำแข็งจะต่างกัน โดยแม่คะนิ้งจะเป็นเกล็ดๆฟูๆมากกว่า แต่ไม่หนามากนัก)
ปกติแล้วแม่คะนิ้งพบได้ในจังหวัดที่มียอดดอยสูงๆในประเทศไทย ที่มีอุณหภูมิประมาณ 0 องศา หรือติดลบเล็กน้อยครับ ใครอยากไปดูแม่คะนิ้ง ก็ต้องดูช่วงอากาศกันดีๆ วันไหนมีพยากรณ์ว่ายอดดอยตอนกลางคืนหนาวถึงศูนย์องศาหรือติดลบ ก็จะมีโอกาสเจอแม่คะนิ้งได้สูงในเช้าวันรุ่งขึ้นครับ

ปล. ภาพแม่คะนิ้งที่เอามาลงนี้เป็นภาพแม่คะนิ้งในสวนหลังบ้านเช่าที่อังกฤษครับ ช่วงนี้เจอแบบนี้ทุกวันเลย ^ ^"

จริงๆก็ไม่สวยเท่าไหร่นะ เหมือนหญ้าผมหงอก ประมาณนั้นเลย 555+


ซูมใกล้ๆ ก็จะเป็นเหมือนมีเกล็ดๆปุยๆ (ประมาณว่าหนากว่ากำมะหยี่หน่อยเดียว) เกาะตามใบหญ้าและขอบใบไม้แห้งครับ










ลองรูดเอาน้ำแข็งออกมาหน่อยสิ ... น่ารวบรวมเอามาทำน้ำแข็งใสกินมากๆ 555+






ก็ ... หมดแล้วครับ ไม่รู้จะบรรยายอะไร
ว่างๆก็เก็บรูปแม่คะนิ้งมาฝากเท่านั้นเองครับ ^ ^

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น