เรามีน้ำมันดิบเหลือใช้ได้อีกกีปีหมด?

เมื่อ 20 ปีที่แล้วก็บอกว่ามีน้ำมันดิบเหลือใช้ได้อีก 40 ปี ปัจจุบันก็บอกว่ายังเหลืออีกมากกว่า 50 ปี ผลิตมาแล้ว 20 ปี ทำไมกลับเหลือมากกว่าเดิมอีก แล้วตกลงเหลือน้ำมันดิบเหลือใช้ได้อีกกี่ปีกันแน่?
นี่คือคำถามที่หลายๆคนคาใจ ว่าบอกว่าน้ำมันจะหมด ผ่านมานานแล้วก็ยังไม่หมดซะที ตกลงน้ำมันใกล้หมด หรือไม่หมด หรือยังไงกันแน่หนอ? ... อ่านดูกันครับว่าจริงๆคืออย่างไร ประเทศไทยเราเองก็แนวๆนี้ครับ

จำนวนปีที่น้ำมันเหลือใช้ได้อีก (R/P ratio) ได้มาจากการนำปริมาณสำรองน้ำมันดิบที่พิสูจน์แล้วหารด้วยอัตราการผลิตน้ำมันดิบต่อปี ปริมาณสำรองน้ำมันดิบที่พิสูจน์แล้วเพิ่มขึ้นในสัดส่วนที่มากกว่าอัตราการผลิตที่เพิ่มขึ้น ปริมาณสำรองน้ำมันดิบที่พิสูจน์แล้วสามารถเปลี่ยนแปลงได้ขึนอยู่กับ 1. ราคาน้ำมันดิบ 2. การเจาะสำรวจเพิ่มเติม 3. เทคโนโลยีที่ดีขึ้น ราคาน้ำมันดิบเพิ่มขึ้นจาก 20-30 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรลเมื่อ 20 ปีที่แล้ว เป็น 80-120 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล ทำให้มีปริมาณสำรองน้ำมันดิบที่พิสูจน์แล้วเพิ่มขึ้นมากขึ้นจาก 1.0 ล้านล้านบาร์เรลในปีพ.ศ. 2534 เป็น 1.6 ล้านล้านบาร์เรลในปีพ.ศ. 2554 ขณะที่อัตราการผลิตน้ำมันดิบเพิ่มขึ้นจากประมาณ 65 ล้านบาร์เรลต่อวัน เป็น 85 ล้านบาร์เรลต่อวัน ในช่วงเวลาเดียวกัน

สัดส่วนปริมาณสำรองน้ำมันดิบที่พิสูจน์แล้วของแต่ละภูมิภาค ในปีพ.ศ. 2534 2544 และ 2554
ที่มา: BP Statistical Review of World Energy 2012

หากต้องการเข้าใจคำตอบนี้อย่างแท้จริงต้องทำความเข้าใจนิยามปริมาณสำรอง ปริมาณสำรองน้ำมันดิบ คือ ปริมาณทรัพยากรน้ำมันดิบที่
1. พบน้ำมันแล้ว
2. สามารถผลิตได้ด้วยเทคโนโลยีและข้อกฎหมายในปัจจุบัน
3. ผลิตได้โดยมีกำไร

ปริมาณสำรองสามารถแบ่งได้เป็น 3 ประเภท คือ
1) ปริมาณสำรองที่พิสูจน์แล้ว (Proved reserve หรือ P1) เป็นปริมาณปิโตรเลียมในแหล่งกักเก็บที่มีความน่าเชื่อถือสูงและมั่นใจมากว่าจะสามารถผลิตได้จริงมากกว่า 90 %
2) ปริมาณสำรองที่คาดว่าจะพบ (Probable reserves หรือ P2) มีระดับความน่าเชื่อถือต่ำกว่าปริมาณสำรองที่พิสูจน์แล้ว แต่ก็ยังเชื่อมั่นได้ว่าจะสามารถผลิตได้จริง ระหว่าง 50 - 90 %
3) ปริมาณสำรองที่น่าจะพบ (Possible reserves หรือ P3) เป็นปริมาณปิโตรเลียมที่มีความน่าเชื่อถือต่ำมากและมั่นใจว่าจะสามารถผลิตได้จริงระหว่าง 10 - 50 %

จำนวนปีที่น้ำมันเหลือใช้ได้อีก (R/P ratio) ได้มาจากการนำปริมาณสำรองน้ำมันดิบที่พิสูจน์แล้วหารด้วยอัตราการผลิตน้ำมันดิบต่อปี ปริมาณสำรองน้ำมันดิบที่พิสูจน์แล้วเพิ่มขึ้นในสัดส่วนที่มากกว่าอัตราการผลิตที่เพิ่มขึ้น ปริมาณสำรองน้ำมันดิบที่พิสูจน์แล้วสามารถเปลี่ยนแปลงได้ขึ้นอยู่กับ 1. ราคาน้ำมันดิบ 2. การเจาะสำรวจเพิ่มเติม 3. เทคโนโลยีที่ดีขึ้น ราคาน้ำมันดิบเพิ่มขึ้นจาก 20-30 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรลเมื่อ 20 ปีที่แล้ว เป็น 80-120 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล ทำให้มีปริมาณสำรองน้ำมันดิบที่พิสูจน์แล้วเพิ่มขึ้นมากขึ้นจาก 1.0 ล้านล้าบาร์เรลในปีพ.ศ. 2534 เป็น 1.6 ล้านล้านบาร์เรลในปีพ.ศ. 2554 ขณะที่อัตราการผลิตน้ำมันดิบเพิ่มขึ้นจากประมาณ 65 ล้านบาร์เรลต่อวัน เป็น 85 ล้านบาร์เรลต่อวัน ในช่วงเวลาเดียวกัน การเจาะสำรวจเพิ่มเติมถ้าทำในแหล่งเดิมสามารถเพิ่มความมั่นใจที่จะผลิตได้ ปริมาณสำรองที่คาดว่าจะพบ และ ปริมาณสำรองที่น่าจะพบ บางส่วนสามารถปรับเป็นปริมาณสำรองน้ำมันดิบที่พิสูจน์แล้วได้ การเจาะสำรวจเพิ่มเติมถ้าทำในแหล่งใหม่สามารถเปลี่ยนปริมาณทรัพยากรบางส่วนเป็นปริมาณสำรองนํ้ามันดิบที่พิสูจน์แล้วได้ เทคโนโลยีที่ดีขึ้นสามารถลดต้นทุนการสำรวจและการผลิตเอื้อให้การพัฒนาแหล่งน้ำมันดิบมีกำไรมากขึ้น เทคโนโลยีที่ดีขึ้นยังทำให้สามารถสำรวจหรือผลิตในที่ที่มีสภาพแวดล้อมที่ท้าทาย เช่น ในอ่าวเม็กซิโกที่มีระดับน้ำลึกมากกว่า 1 กิโลเมตร หรือในทวีปแอนตาร์กติกาที่มีอุณหภูมิต่ำมาก

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น