การทำลายเชื้อและทำความสะอาดอุปกรณ์ทางการแพทย์

การทำลายเชื้อ Dr.Spaulding ได้แบ่งเครื่องมือแพทย์เป็น 3 ประเภทคือ
1. เครื่องมือที่ทะลุทะลวงเข้าไปในร่างกาย (Critical Item) เช่น มีด เข็ม ข้อเทียม สายสวนหัวใจ ฯลฯ การทำลายเชื้อกลุ่มนี้ให้ใช้ High Level Disinfectant ซึ่งทำลายเชื้อส่วนใหญ่ได้ เช่นแบคทีเรีย เชื้อรา ไวรัส mycobacteria ยกเว้นสปอร์ของแบคทีเรียจำนวนมากไม่สามารถทำลายได้ สารเคมีกลุ่มนี้ได้แก่ Glutaraldehyde, Formaldehyde, 6% Hydrogen peroxide, Peracetic acid

2. เครื่องมือแบบส่องกล้อง (Semi Critical Item) เช่น กล้องส่องกระเพาะอาหาร กล้องส่องรูทวาร ปรอทวัดไข้ ฯลฯ การทำลายเชื้อกลุ่มนี้ให้ใช้ Intermediate-High Level Disinfectant สามารถทำลายเชื้อ Mycobacterium tuberculosis, vegetative bacteria, most viruses, and most fungi ยกเว้นสปอร์ของแบคทีเรียจำนวนมากไม่สามารถทำลายได้ สารเคมีกลุ่มนี้ได้แก่ Iodophors, Chlorine compounds และ Alcohol

3. เครื่องมือที่ใช้ภายนอกร่างกาย (Non Critical Item) เช่น กระโถน กาละมัง เครื่องวัดความดันโลหิต ฯลฯ การทำลายเชื้อกลุ่มนี้ให้ใช้ Low Level Disinfectant ล้างด้วยสบู่ ผ่านความร้อน สามารถทำลายเชื้อแบคทีเรียส่วนใหญ่ ไวรัสบางตัว เชื้อราบางตัว แต่ไม่สามารถทำลายเชื้อวัณโรค และสปอร์ของแบคทีเรีย

หลักการทำความสะอาดอุปกรณ์ทางการแพทย์
1. การล้างด้วยมือ (Manual cleaning) ก่อนจะทำการฆ่าเชื้อด้วยน้ำยาใดๆต้องขจัดสิ่งนั้นออกและล้างให้สะอาดก่อน เวลาล้างอย่าเปิดน้ำให้เชื้อกระจายออกไปทั่ว ขัดถูอุปกรณ์ใต้น้ำ ให้ใช้ถุงมือแบบหนา ไม่ใช้แบบบาง เพราะแบบบางทำจาก Latex แตกง่าย ตรวจสอบดูว่าเครื่องมือพร้อมใช้หรือไม่ เช่น น้อตหลุด และปฏิบัติงานด้วยความระมัดระวัง

2. การล้างด้วย Ultrasonic Cleaner

3. การล้างด้วย Washer-Decontaminator/Disinfectors ล้างไปด้วยใส่น้ำยาฆ่าเชื้อไปด้วย

4. การล้างด้วย Washer-Sterilizer ล้างเสร็จ Sterile ไปเลย Disinfectant แตกต่างจาก Sterilization ตรงที่ Disinfectant ไม่สามารถทำลายสปอร์ได้ หรือทำลายได้แต่ต้องใช้น้ำยาที่มีฤทธิ์สูงเช่น Glutadehide นาน 8-10 ชั่วโมง แต่ให้ระวังอันตราย เคยมีปัญหาแล้วว่าอาจก่อให้เกิดมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ หากก่อนใช้ ล้างออกไม่หมด

อ้างอิง : หลักการควบคุมโรคเบื้องต้นสำหรับ SRRT, สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค, 2554

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น